เมนู

ก็ธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสมาธินั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแหละ.

ความหมายของคำว่า ปัญญินทรีย์



ปชานาตีติ ปญฺญา

ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า
ย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา
เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
ก็ปัญญานั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงำ
อวิชชา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรม
อื่นในลักษณะแห่งการเห็น. ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.
ก็ปัญญานี้นั้นมีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เหมือน
อย่างว่า เมื่อบุคคลจุดประทีปให้สว่างในเวลากลางคืนในบ้านที่มีฝา 4 ด้าน
ความมืดย่อมหมดไป แสงสว่างย่อมปรากฏฉันใด ปัญญามีการส่องสว่างฉันนั้น
เหมือนกัน. ธรรมดาแสงสว่างเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาย่อมไม่มี. จริงอยู่
เมื่อมหาบุรุษผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง หมื่นโลกธาตุก็มีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า
มหาบพิตร ในเวลาที่มืดค่ำแล้ว บุรุษพึงเอาประทีปเข้าไปวางไว้ในบ้าน
ประทีปที่นำเข้าไปแล้วย่อมกำจัดความมืด ย่อมยังโอภาสให้เกิดขึ้น ย่อมยัง
แสงสว่างให้รุ่งโรจน์ ย่อมทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏ ฉันใด มหาบพิตร ปัญญา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดความมืดคือ อวิชชา ย่อมยังโอภาส

คือวิชชาให้เกิด ย่อมยังแสงสว่างคือญาณให้รุ่งโรจน์ และย่อมทำอริยสัจจะ
ทั้งหลายให้ปรากฏ มหาบพิตร ปัญญามีการส่องสว่างเป็นลักษณะด้วย
ประการฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
และอกุศล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ทีดำและขาว และ
ที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เหมือนแพทย์ผู้ฉลาดย่อมรู้เภสัชเป็นต้นที่เป็นที่
สบายและไม่สบายแก่บุคคลผู้ป่วย ฉะนั้น. สมดังคำพระธรรมเสหาบดีกล่าว
ไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติใดย่อมรู้ทั่ว เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า ปัญญา. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วว่า นี้ทุกข์
เป็นต้น ข้อความนี้บัณฑิตพึงให้พิสดาร. พึงทราบความที่ปัญญานั้นมีความรู้
ทั่วเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือการแทง
ตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไป
ฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรสดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็น
ปัจจุปัฏฐานดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมาฉะนั้น.

ความหมายของคำว่า มนินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า มนะ เพราะย่อมรู้ คือย่อมรู้แจ้ง.
แต่ท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มนะ เพราะย่อม
รู้อารมณ์ เหมือนบุคคลนับอยู่ด้วยทะนาน และเหมือนชั่งอยู่ด้วยชั่งใหญ่
ฉะนั้น. มนะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่า
ธรรมอื่นในลักษณะแห่งความรู้. มนะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์.
มนะนี้เป็นคำไวพจน์ของจิตตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง.